ความหลากหลายทางชีวภาพของสมุนไพร บริเวณริมแม่น้ำเหือง อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย

ที่มีผลต่อการยับยั้งการเจริญของเชื้อก่อโรคในระบบทางเดินอาหาร

Biodiversity of Medicinal Plant along the Hueng River, Amphur Naahaew, Loei Province

and the Effects on the Growth of Gastrointestinal Tract Microbes

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วีรวัฒน์ กนกนุเคราะห์ *

ASSISTANT PROFESSOR VERAWAT KANOKNUKROH *

 

 

 

 

 

บทคัดย่อ

การสำรวจสภาพพื้นที่ป่าบริเวณริมฝั่งแม่น้ำเหือง อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลยซึ่งเป็นเขตรอยต่อระหว่างประเทศไทยและลาว ในพื้นที่ครอบคลุมประมาณ 24 ตารางกิโลเมตร ที่ระดับความสูงตั้งแต่ 400- 1,200 เมตร พบว่าสภาพป่าส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นป่าดิบชื้น ป่าดิบเขาและป่าเต็งรัง จากการรวบรวมตัวอย่างพรรณไม้ประมาณ 300 ตัวอย่าง พบว่ามีลักษณะเป็นพืชสมุนไพร 70 ชนิด แต่มีเพียง 15 ชนิดที่คาดว่าน่าจะมีผลต่อการยับยั้งการเจริญของเชื้อก่อโรคในระบบทางเดินอาหาร

เมื่อทำการสกัดแห้งสมุนไพรทั้ง 15 ชนิด และนำสารสกัดที่ได้มาทดสอบฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย 4 ชนิดที่ก่อให้เกิดโรคระบบทางเดินอาหารคือ Escherichia coli, Shigella dysenteriae, Salmonella typhosa และ Vibrio cholerae ด้วยวิธีการ disc diffusion บนอาหารเลี้ยงเชื้อ พบว่าสารสกัดจากเปลือกผลของมังคุดด้วยน้ำกลั่นสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ E. coli ได้

สารสกัดจากใบโกฏจุฬาลำพาด้วยไดเอธิล อีเธอร์ สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ S. dysenteriae ได้ ขณะที่เชื้อ S. typhosa ถูกยับยั้งการเจริญด้วยสารสกัดจากเปลือกผลสมอพิเภก, กลีบดอกคูน หรือใบเปล้าน้อยโดยใช้ไอโซโพรพานอล 80% เป็นตัวทำละลาย แต่ไม่พบว่ามีสารสกัดจากสมุนไพรชนิดใดสามารถออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อ V. cholerae ได้

Abstract

A survey of forest area along the Hueng river in Amphur Naahaew, Loei Province which is located at the Thai-Laos border. This area covers an area of about 24 km 2 with altitudes ranging from 400- 1,200 m. The vegetation in this area consists of Tropical Rain forest, Hill Evergreen forest and Dry Dipterocarp forest. The total of 300 herbarium specimens were collected; about 70 species were identified and classified as medicinal plants. Nevertheless, 15 medicinal plants are likely able to inhibit on the growth of Gastrointestinal Tract Microbes.

All of 15 medicinal plants were dried and grounded into the powder and then extracted in 3 different solvents; water, diethyl ether and 80% isopropanal. The extracts were evaporated until no solvent appeared. The growth inhibitory property of the products were tested against 4 species of Gastrointestinal Tract Microbes as Escherichia coli, Shigella dysenteriae, Salmonella typhosa and Vibrio cholerae by disc diffusion method. It was found that distilled water extract of Garcinia mangostana L. was able to inhibit the growth of E. coli. While diethyl ether extract of Artemisia vulgaris L.var.indicaMaxim. could inhibit the growth of S. dysenteriae. 80% Isopropanol extract of Terminalia bellerica (Gaertn.)Roxb., Cassia fistula L. and Croton stellatopilosus Ohba were able to inhibit the growth of S. typhosa. However, none of the extracts showed any effect on V. cholerae.

คำสำคัญ

ความหลากหลายทางชีวภาพ / พืชสมุนไพร/ เชื้อก่อโรคในระบบทางเดินอาหาร
Keyword

Biodiversity/Medicinal Plant/Gastrointestinal Tract Microbes

* คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

* School of Humanities, Bangkok University

 

หน้า 1 - 2 - 3 - 4 - 5 - 6 - 7 - 8 - 9

 

 

คำนำ

สมุนไพรเป็นมากกว่า “ สมุน” ของ “ ป่า” มีคุณค่ามากกว่าอาหารและยา เป็นส่วนหนึ่งของความรู้ในเชิงวัฒนธรรม การนำสมุนไพรมาใช้ให้เกิดประโยชน์นั้น ต้องอาศัยภูมิปัญญาระดับชาวบ้านเป็นเครื่องมือประกอบกัน ถ้าปราศจากภูมิปัญญาระดับชาวบ้านแล้ว จะก่อให้เกิดปัญหาในการนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ เพราะทำให้เกิดความไม่แน่ใจในการใช้งาน ไม่รู้ว่าจะใช้เพื่ออะไร อย่างไร หรือใช้เมื่อใด ดังนั้นการขยายผลจากภูมิปัญญาระดับชาวบ้าน สู่การผลิตสมุนไพรเพื่อการค้าและอุตสาหกรรม จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวด โรงงานอุตสาหกรรมผลิตยาและเภสัชภัณฑ์จากสมุนไพรจึงพยายามขวนขวายหาองค์ความรู้ใหม่อันเกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาระดับชาวบ้าน ธุรกิจอุตสาห-กรรมอาหารและยา จากประเทศพัฒนาแล้ว จึงเร่งเข้ามาศึกษาภูมิปัญญาระดับชาวบ้าน ในเรื่องสมุนไพรจากชุมชนท้องถิ่นในประเทศโลกที่สาม เพื่อหาลู่ทางในการพัฒนาให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่จากสมุนไพร ซึ่งการศึกษาภูมิปัญญาระดับชาวบ้านนี้ จะช่วยร่นระยะเวลาในการศึกษาวิจัย ของโรงงานอุตสาหกรรมยาจากเดิมที่อาจต้องใช้เวลามากกว่าสิบปี ลงเหลือเพียงไม่กี่ปี ส่งผลให้ทุ่นงบประมาณที่ต้องใช้จ่ายจำนวนมหาศาลลง (1)

แต่กระนั้น ปัญหาของการใช้และศึกษาภูมิปัญญาระดับชาวบ้านในเรื่องของสมุนไพรไทยนี้ยังมีปัญหา อีกนานับประการรออยู่เบื้องหน้า อาทิ ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับระบบนิเวศโดยตรง สมุนไพรในป่าธรรมชาติสูญหายไปพร้อมกับปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า ความขัดแย้งในเรื่องสัมปทานป่า สมุนไพรในป่าถูกทำลายเนื่องจากต้องการพื้นที่สำหรับปลูกพืชเกษตรกรรมเชิงพาณิชย์ ระบบนิเวศของแหล่งน้ำมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้สมุนไพรในแหล่งน้ำสูญสิ้นไป ผลกระทบที่สำคัญจากการณ์นี้คือ การทำลายความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศอย่างรุนแรงทั้งทางตรงและทางอ้อม (2)

ประเทศไทยเป็นประเทศที่อุดมด้วยสมุนไพรนานาชนิด เนื่องจากมีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ในสมัยโบราณและปัจจุบัน จึงมีการนำพืชสมุนไพรมาใช้ในการปรุงยาแผนโบราณอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง แต่เนื่องจากภูมิปัญญาชาวบ้านและวิทยาการทางเทคโนโลยีของนักวิชาการไม่อาจเชื่อมโยงกันได้อย่างเป็นระบบ ทำให้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องเกิดการขาดตอนไปอย่างน่าเสียดาย และเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ในการพึ่งตนเองมีความแพร่หลายมากขึ้น การสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพจึงมีผลกระทบต่อการสร้างองค์ความรู้ใหม่โดยตรง (3)

โรคที่เกิดจากแบคทีเรียก่อให้เกิดโรคกับระบบทางเดินอาหารอันได้แก่ โรคบิด ไทฟอยด์ อหิวาตกโรค จัดเป็นปัญหาใหญ่ของการ สาธารณสุขมูลฐาน สมุนไพรที่เกี่ยวข้องในการรักษาโรคกลุ่มนี้มีหลายชนิด อาทิ ว่านน้ำ มะตูม ไพล แห้วหมู โมกหลวง เป็นต้น (4)

จากการสำรวจเบื้องต้นพบว่าบริเวณแม่น้ำเหือง อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย มีพรรณไม้สมุนไพรหลากชนิด (5) เชื่อว่าเมื่อการวิจัยเสร็จสิ้นจะพบชนิดของสมุนไพรที่มีผลต่อการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียกลุ่มดังกล่าวมากขึ้น และสามารถใช้เป็นแนวทางในการกระจายงาน สาธารณสุขสู่ประชาชนในชนบทได้กว้างขวางขึ้น งานวิจัยนี้มุ่งหวังให้คนไทยทั่วไปยอมรับสมุนไพร และใช้สมุนไพรได้อย่างมั่นใจขึ้น

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

  • สำรวจความหลากหลายทางชีวภาพเฉพาะพืชสมุนไพร บริเวณริมแม่น้ำเหือง อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย
  • เปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารที่สกัดจากสมุนไพรที่ได้จากบริเวณริมแม่น้ำเหือง อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย ซึ่งมีผลต่อการเจริญของแบคทีเรียกลุ่มก่อโรคในระบบทางเดินอาหาร
  • ตรวจความเข้มข้นต่ำสุดของสารสกัดจากสมุนไพรที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียกลุ่มก่อโรคในระบบทางเดินอาหาร

วัสดุและสารเคมีที่ใช้

1. สมุนไพร

งานวิจัยนี้เริ่มต้นจากการสำรวจพรรณไม้บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเหือง อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย โดยดำเนินการสำรวจในช่วงเดือนมกราคมถึงพฤษภาคม พศ. 2543 ระยะเวลาสำรวจโดยเฉลี่ยห่างกัน 1 เดือน รวม 5 ครั้ง จากการสำรวจพบว่ามีพืชสมุนไพรจำนวน 70 ชนิด และในสมุนไพรจำนวนดังกล่าวพบว่ามีบางชนิดมีคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับการบำบัดรักษาโรคของระบบทางเดินอาหาร โดยการนี้ได้เก็บรวบรวมสมุนไพรจากบริเวณดังกล่าวรวม 15 ชนิด เพื่อนำมาใช้ในการวิจัยระหว่างปี พศ. 2543-2546 (รายละเอียดผลจากการสำรวจปรากฏในหัวข้อ ผลการสำรวจ) ดังนี้ โกฏจุฬาลำพา (ใบ), ขี้อ้าย (เปลือกลำต้น), คูน (กลีบดอก), ชุมเห็ดเทศ (ใบ), เปล้าน้อย (ใบ), เปล้าใหญ่ (ใบ), แฝกหอม (ราก), ฟ้าทะลายโจร (ใบ), พิลังกาสา (ใบ), มังคุด (เปลือกผล), โมกหลวง (เปลือกลำต้น), ราชดัด (ผล), สมอพิเภก (เปลือกผล), สลัดไดป่า (เปลือกลำต้น), และหูกวาง (เปลือกลำต้น)

นำส่วนต่างๆที่คาดว่าจะมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียก่อโรคในระบบทางเดินอาหารมาอบที่อุณหภูมิ 65 ° ซ . จนแห้ง จากนั้นจึงบดเป็นผงละเอียดด้วยเครื่องบด (Blender) แบ่งให้ได้น้ำหนักแห้งแต่ละชนิด ปริมาณ 200 กรัม

หน้า 1 - 2 - 3 - 4 - 5 - 6 - 7 - 8 - 9

2. เชื้อแบคทีเรียที่ใช้ทดสอบ

เชื้อที่ใช้ในการทดลองนี้มีแหล่งที่มาแตกต่างกันดังนี้ Vibrio cholerae คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, Escherichia coli ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, Shigella dysenteriae คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, Salmonella typhosa คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า

นำเชื้อที่ผ่านการทดสอบทางวิธีชีวเคมีตาม Bergey’s Manual of Determinative Bacteriology ว่าเป็นสปีชีส์ที่ต้องการ และมีผลต่อการออกฤทธิ์ในระบบทางเดินอาหารของมนุษย์แล้ว มาเพาะเลี้ยงต่อใน Mac Conkey Agar Slope เก็บเชื้อทั้งหมดแยกเดี่ยวสำหรับใช้เป็น Stock ขณะทดลองมีการเปลี่ยนอาหารใหม่ทุก 3 สัปดาห์

3. สารเคมี

Distilled Water, Diethyl Ether grade a, และ 80% Isopropanol grade a (Merck,co.Ltd.)

4. อาหารเลี้ยงเชื้อแบคทีเรีย

Mac Conkey Agar, 0.1 % Peptone, Mannitol Agar, Nutrient Agar (DIFCO 0001), Nutrient Agar (DIFCO 0001) with 3% NaCl, Potato Sucrose Agar, Malt Extract Agar, Trypticase Soy Agar (TSA), และ Trypticase Soy Broth (TSB)

สารเคมีและอาหารเลี้ยงเชื้อแบคทีเรียที่ใช้ได้จาก ห้องวิจัย บริษัท ค้นคว้าและทดลองผลิตภัณฑ์ยา PATA LAB ซอยมีสุวรรณ 3 สุขุมวิท 71

วิธีการวิจัย

1. วิธีการสกัดสารจากสมุนไพรตัวอย่าง

  • (1.1) ทดลองสกัดสารจากสมุนไพรโดยใช้น้ำกลั่นเป็นตัวทำละลาย

    ชั่งผงสมุนไพรที่อบได้ 10 กรัม ตวงใส่ขวดรูปชมพู่ เติมน้ำกลั่น 200 มล. แช่ไว้ 3 วัน กรองกากออกด้วยกระดาษกรอง Whatman หมายเลข 2 ต่อมากรองด้วยเครื่องกรองแบคทีเรีย ระเหยขั้นสุดท้ายด้วยเครื่อง Vacuum Rotary Evaporator ในสภาพสูญญากาศ ควบคุมอุณหภูมิที่ 65 ° ซ . จนแห้ง และไม่มีตัวทำละลายระเหยออกมาอีก

    นำสารที่เหลือในขั้นตอนสุดท้ายหลังระเหยตัวทำละลายออกแล้ว มาละลายด้วยตัวทำละลายตัวเดิม ( น้ำกลั่น) โดยกำหนดให้อัตราส่วนน้ำหนักแห้งของสารที่เหลือ : ตัวทำละลาย คือ น้ำกลั่น มีค่าเท่ากับ 10 4 ไมโครกรัม : 0.1 มล.

    นำสารละลายที่ได้ใส่ขวด vial ( ที่ผ่านการอบฆ่าเชื้อแล้ว) เก็บไว้ที่อุณหภูมิ 4 ° ซ . เพื่อสำหรับใช้ในการทดลอง ในระยะเวลาไม่เกิน 5 วัน

  • (1.2) ทดลองสกัดสารจากสมุนไพรโดยใช้ไดเอธิล อีเธอร์ เป็นตัวทำละลาย

    ทำการทดลองตามขั้นตอนใน (1.1) แต่ควบคุมอุณหภูมิในการระเหยตัวทำละลายออกที่ 35 ° ซ.

  • (1.3) ทดลองสกัดสารจากสมุนไพรโดยใช้ไอโซไพรทานอล 80% เป็นตัวทำละลาย

    ทำการทดลองตามขั้นตอนใน (1.1) แต่ควบคุมอุณหภูมิในการระเหยตัวทำละลายออกที่ 45 ° ซ.

2. วิธีการเตรียมเชื้อตั้งต้นสำหรับใช้ในการวิจัย

นำเชื้อแบคทีเรียทั้ง 4 ชนิดจากแหล่งต่างๆ ใน Stock Culture มาเพาะเลี้ยงบนอาหารเลี้ยงเชื้อแตกต่างกัน เพื่อให้เกิดโคโลนีเดี่ยว (Single Colony) จากนั้นทำการถ่ายเชื้อ 1 โคโลนีด้วย loop ไปเลี้ยงต่อใน TSB 10 มล. เพาะไว้ที่อุณหภูมิ 37 ° ซ . เป็นเวลาประมาณ 1 วัน ทุกครั้งก่อนการทดลองต้องนำเชื้อแบคทีเรียมาทำ Serial Tenfold Dilution ด้วย 0.1% peptone เจือจางจนได้ระดับ 10 -2 เพื่อใช้ในการทดลองขั้นต่อไป

3. วิธีการเตรียม Paper Disc

นำสารสมุนไพรที่สกัดได้จากข้อ (1.1) (1.2) และ (1.3) มาหยดลงบน Sterile Antibiotic Blank Disc ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 8 มม. โดยการใช้ Dropping Pipette ที่ผ่านการอบฆ่าเชื้อเรียบร้อยแล้ว หยดจนกระทั่งได้ Disc ที่มีสารสกัดเทียบเท่ากับ 10 4 ไมโครกรัม ปล่อยให้ Disc แห้ง สำหรับนำไปใช้ในการทดลองขั้นตอนต่อไป

ในการวิจัยขั้นนี้จะเป็นการทดสอบคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียด้วยวิธีที่เรียกว่า Disc Diffusion โดย Dropping Pipette จะสามารถหยดได้ครั้งละ 0.02 มล. ปล่อยให้แห้ง จึงหยดต่ออีก 0.02 มล. ทำแบบนี้ 5 ครั้ง จะได้แผ่น Sterile Disc ที่มีสารสกัดจากสมุนไพรเทียบเท่ากับ 10 4 ไมโครกรัม

4. วิธีการทดสอบคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหาร

ใช้ปิเปตดูดเชื้อแบคทีเรียชนิดที่ต้องการทดสอบ ซึ่งเตรียมไว้แล้วจากข้อ 2 มาปริมาณ 1 มล. ใส่ในจานเพาะเชื้อที่มีอาหาร TSA ( ผิวหน้าแห้งด้วยการอบในตู้อบแห้ง 45 ° ซ . เป็นเวลา 20 ชั่วโมง) 1 เชื้อต่ออาหารเลี้ยงเชื้อ 1 จาน ทำให้เชื้อกระจายทั่วผิวอาหารด้วยการเอียงจาน ดูดเชื้อที่เหลือออกแล้วทิ้งให้ผิวหน้าอาหารแห้งเป็นเวลา 20 นาที

หน้า 1 - 2 - 3 - 4 - 5 - 6 - 7 - 8 - 9

ต่อมาใช้ปากคีบที่ฆ่าเชื้อแล้ว คีบ Paper Disc จากข้อ 3 วางบนผิววุ้นโดยให้มีระยะห่างเท่าๆกัน 4 แผ่น ต่อ 1 จาน ทดสอบเชื้อแต่ละชนิดจำนวน 5 ซ้ำ (5 Replications) ในสารสกัดทั้งหมด 3 ประเภท แล้วจึงนำจานเพาะเชื้อไปบ่มที่อุณหภูมิ 37 ° ซ . เป็นเวลา 1-3 วัน

บันทึกผลและวัดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของวงใส (Clear zone) โดยอาศัยวงเวียนและไม้โปรแทรกเตอร์วัดเปรียบเทียบ กำหนดให้ขนาดของวงใส ตั้งแต่ 1-10 มม. มีค่าเท่ากับ +, 11- 13 มม. มีค่าเท่ากับ ++, 13- 16 มม. มีค่าเท่ากับ +++, ถ้าไม่พบวงใส มีค่าเท่ากับ -

โดยการวิจัยนี้ได้ทำการกำหนดกลุ่มควบคุมด้วยการทดสอบตัวทำละลายทั้ง 3 ประเภท คือ น้ำกลั่น, ไดเอธิล อีเธอร์, ไอโซโพรพานอล 80% ซึ่งเป็นการเตรียม Sterile Blank Disc ตามการวิจัยในข้อ 3 แล้วจึงนำมาทดสอบต่อตามวิธีการเช่นเดียวกับวิธีเบื้องต้นในข้อ 4 นี้

5.วิธีการหาค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียประเภทที่ก่อให้เกิดโรคติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร

ในการวิจัยขั้นต้นนี้เป็นการหาค่า MIC หรือ Minimal Inhibitory Concentration ซึ่งมีวิธีการคือ นำหลอดทดลองขนาดเล็กมา 10 หลอด ใข้ปิเปตดูด TSB ใส่ในหลอดที่ 2 จนถึงหลอดที่ 10 ปริมาณหลอดละ 0.5 มล. ต่อมานำไปทำให้ปราศจากเชื้อด้วยหม้อนึ่งอัดไอ (Autoclave) อุณหภูมิ 121 ° ซ . ความดัน 15 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว เป็นเวลา 15 นาที ต่อมาให้ใช้ปิเปตดูดสารสกัดจากสมุนไพรที่เตรียมไว้สำหรับทดสอบ ( ความเข้มข้น 10 5 ไมโครกรัมต่อมล.) ใส่ในหลอดที่ 1 และหลอดที่ 2 ปริมาณหลอดละ 0.5 มล. เขย่าหลอดที่ 2 ให้สารสกัดจากสมุนไพรรวมตัวกับ TSB จากนั้นใช้ปิเปตดูดสารในหลอดที่ 2 ไปใส่หลอดที่ 3 ปริมาณ 0.5 มล. เขย่าหลอด และทำเจือจางต่อไปจนถึงหลอดที่ 9 จากนั้นใช้ปิเปตดูดสารจากหลอดที่ 9 แล้วเขย่าแล้วทิ้งไป 0.5 มล. หลอดที่ 10 เป็นหลอดที่มีเฉพาะอาหาร TSB ใช้เป็นหลอดควบคุม

ใช้ปิเปตดูดเชื้อที่เตรียมไว้เป็น Stock จากข้อ 2 มาใส่ในหลอดทดลอง หลอดที่ 1 ถึง 10 หลอดละ 0.5 มล. และนำไปบ่มเพาะในตู้เพาะเชื้อที่อุณหภูมิ 37 ° ซ . เป็นเวลา 24 ชั่วโมง รายงานผลจากความขุ่นของการเจริญของเชื้อแบคทีเรียในหลอดทดลอง ความเข้มข้นของหลอดทดลองสุดท้ายที่เชื้อไม่สามารถเจริญได้ คือ ค่า MIC หรือ Minimal Inhibitory Concentration

ผลการวิจัย

1. ผลการสำรวจ

การสำรวจพรรณไม้สมุนไพรบริเวณริมฝั่งแม่น้ำเหือง อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย พบว่า บริเวณดังกล่าวมีลักษณะของความหลากหลายทางชีวภาพสูงมาก รวมทั้งมีสมุนไพรหลากหลายชนิด เหมาะแก่การสำรวจวิจัยในระยะยาวและต่อเนื่อง จุดเริ่มต้นของงานวิจัย ได้ทำการสำรวจพรรณไม้บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเหือง อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย ซึ่งเป็นเขตรอยต่อระหว่างประเทศไทยและลาว โดยดำเนินการสำรวจในช่วงเดือนมกราคม ถึง พฤษภาคม พศ .2543 ระยะเวลาสำรวจโดยเฉลี่ยห่างกัน 1 เดือน รวมทั้งสิ้นจำนวน 5 ครั้ง พื้นที่สำรวจครอบคลุมเนื้อที่ประมาณ 24 ตารางกิโลเมตร ที่ระดับความสูงตั้งแต่ 400- 1,200 เมตร สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าดิบเขา ป่าดิบชื้น และป่าเต็งรัง โดยขอความร่วมมือและช่วยเหลือจากโครงการของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งตั้งถาวรอยู่บริเวณนาแห้ว จังหวัดเลย จากการสำรวจพบว่ามีพืชสมุนไพรจำนวน 70 ชนิด ( ดังแสดงจำนวนชนิดในตารางที่ 1) และในสมุนไพรจำนวนดังกล่าวพบว่ามีบางชนิดมีคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับการบำบัดรักษาโรคของระบบทางเดินอาหาร ในงานวิจัยนี้จึงได้นำสารสกัดจากสมุนไพรจำนวน 15 ชนิด มาทำการเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียกลุ่มที่ก่อให้เกิดโรคต่อระบบทางเดินอาหาร

ชนิดและประเภท

จำนวนชนิด

พืชที่ใช้เป็นอาหารได้

พืชยืนต้นขนาดใหญ่

พืชที่สามารถนำเยื่อไม้มาใช้ประโยชน์

พืชที่เป็นไม้ประดับ

พืชสมุนไพร

(5.1) พืชถอนพิษ

(5.2) พืชที่มีน้ำหอมระเหย

(5.3) พืชแก้โรคผิวหนัง

(5.4) พืชสมุนไพรพิกัด

(5.5) พืชที่มีแนวโน้มสามารถรักษาโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร

(5.6) เบ็ดเตล็ด

42

34

35

63

70

9

8

12

15

15

11

ตารางที่ 1 แสดงจำนวนชนิดและประเภทของพืชที่รวบรวมได้จากบริเวณริมแม่น้ำเหือง อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย

หน้า 1 - 2 - 3 - 4 - 5 - 6 - 7 - 8 - 9

  2.ผลการทดสอบคุณสมบัติของสมุนไพรต่อการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหาร

2.1 ปริมาณของสารสกัดจากสมุนไพร 15 ชนิด โดยใช้น้ำกลั่น ไดเอธิล อีเธอร์ และไอโซ โพรพานอล 80% เป็นตัวทำละลาย

ด้วยวิธีการสกัดสารจากสมุนไพรชนิดต่างๆ ในตัวทำละลาย 3 ชนิด โดยได้ทำการระเหยเอาตัวทำละลายออก สารที่เหลืออยู่มีสีและกลิ่นแตกต่างกัน รวมถึงปริมาณของสารที่ได้จากสมุนไพรแต่ละชนิดจะมีน้ำหนักแตกต่างกัน ตามที่ปรากฏในตารางที่ 2

ตารางที่ 2 แสดงปริมาณของสารที่สกัดได้ โดยใช้น้ำกลั่น ไดเอธิล อีเธอร์ และไอโซโพรพานอล 80% เป็นตัวทำละลาย

ชนิดของสมุนไพร

ส่วนที่ใช้ในการวิจัย

น้ำหนักเฉลี่ย ( กรัม)

ที่สกัดได้จากตัวทำละลายต่างประเภท

น้ำกลั่น

ไดเอธิล อีเธอร์

ไอโซโพรพานอล 80%

โกฏจุฬาลำพา

ขี้อ้าย

คูน

ชุมเห็ดเทศ

เปล้าน้อย

เปล้าใหญ่

แฝกหอม

ฟ้าทะลายโจร

พิลังกาสา

มังคุด

โมกหลวง

ราชดัด

สมอพิเภก

สลัดไดป่า

หูกวาง

ใบ

เปลือกลำต้น

กลีบดอก

ใบ

ใบ

ใบ

ราก

ใบ

ใบ

เปลือกผล

เปลือกลำต้น

ผล

เปลือกผล

เปลือกลำต้น

เปลือกลำต้น

2.39

4.12

3.66

5.61

0.26

4.32

2.16

3.47

2.08

1.93

1.14

3.12

2.28

4.65

2.20

3.42

0.23

4.10

2.18

3.23

3.16

1.23

0.96

3.12

1.56

4.26

2.12

3.65

0.83

3.12

6.28

2.14

4.32

3.66

5.87

2.59

0.63

3.92

4.68

3.23

3.94

2.83

3.91

1.63

2.45

2.2 ศึกษาวิจัยดูผลการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียต่อตัวทำละลายที่ใช้สกัดจากสมุนไพร คือ น้ำกลั่น ไดเอธิล อีเธอร์ และไอโซ โพรพานอล 80% เพื่อเป็นกลุ่มควบคุม

จากผลการทดลองพบว่า ตัวทำละลายทั้ง 3 ประเภท ไม่มีผลและฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียทั้ง 4 ชนิด ตามที่ปรากฏในตารางที่ 3 และภาพที่ 1

ตารางที่ 3 แสดงผลการยับยั้งของตัวทำละลาย 3 ประเภท ที่มีต่อการเจริญของเชื้อแบคทีเรียที่ใช้ในการวิจัย 4 ชนิด

ชนิดของเชื้อแบคทีเรีย

ผลการยับยั้งการเจริญของตัวทำละลาย

 

น้ำกลั่น

ไดเอธิล อีเธอร์

ไอโซโพรพานอล 80%

Vibrio cholerae

Escherichia coli

Shigella dysenteriae

Salmonella typhosa

__

__

__

__

__

__

__

__

__

__

__

__

   + = เกิดวงใสบนอาหารเลี้ยงเชื้อ    -  = ไม่เกิดวงใสบนอาหารเลี้ยงเชื้อ

2.3 ศึกษาวิจัยผลการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดจากสมุนไพรโดยใช้น้ำกลั่นเป็นตัวทำละลาย

จากตารางที่ 4 พบว่าสารที่สกัดจากมังคุดมีผลต่อการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียชนิด Escherichia coli ส่วนสารที่สกัดได้จากสมุนไพรอื่นอีก 14 ชนิด ไม่มีผลยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียชนิดอื่นทั้งหมด โดยผลการทดลองปรากฏในตารางที่ 4 และภาพถ่ายที่ 2

2.4 ศึกษาวิจัยผลการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดจากสมุนไพร โดยใช้ไดเอธิล อีเธอร์ เป็นตัวทำละลาย

จากตารางที่ 4 พบว่าสารที่สกัดจากโกฏจุฬาลำพา มีผลต่อการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียชนิด Shigella dysenteriae ส่วนสารที่สกัดได้จากสมุนไพรอื่นอีก 14 ชนิดไม่มีผลยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียชนิดอื่นทั้งหมดโดยผลการทดลองปรากฏในตารางที่ 4 และภาพถ่ายที่ 3

หน้า 1 - 2 - 3 - 4 - 5 - 6 - 7 - 8 - 9

2.5 ศึกษาวิจัยผลการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดจากสมุนไพรโดยใช้ไอโซ โพรพานอล 80% เป็นตัวทำละลาย

จากตารางที่ 4 พบว่าสารที่สกัดจากสมอพิเภก คูน และเปล้าน้อย มีผลต่อการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียชนิด Salmonella typhosa นอกนั้นสารที่สกัดได้จากสมุนไพรอื่นอีก 12 ชนิด ไม่พบว่ามีผลต่อการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียทุกชนิดที่ใช้ในการทดลอง โดย ผลการทดลองปรากฏในตารางที่ 4 และจากภาพถ่ายที่ 4, 5 และ 6 ตามลำดับ

ตารางที่ 4 แสดงผลการยับยั้งการเจริญของสารสกัดจากสมุนไพร 15 ชนิด ที่มีต่อการเจริญของแบคทีเรีย 4 ชนิด ในตัวทำละลาย 3 ประเภท

กำหนดให้

ก =Vibrio cholerae

+ =เกิดวงใสบนอาหารเลี้ยงเชื้อ

 

ข =Escherichia coli

-  =ไม่เกิดวงใสบนอาหารเลี้ยงเชื้อ

 

ค =Shigella dysenteriae

 
 

ง =Salmonella typhosa

 
 

ผลการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียที่ปรากฏบนจานอาหาร

ชนิดของสมุนไพร

น้ำกลั่น

ไดเอธิล อีเธอร์

ไอโซโพรพานอล 80%

 

โกฏจุฬาลำพา

ขี้อ้าย

คูน

ชุมเห็ดเทศ

เปล้าน้อย

เปล้าใหญ่

แฝกหอม

ฟ้าทะลายโจร

พิลังกาสา

มังคุด

โมกหลวง

ราชดัด

สมอพิเภก

สลัดไดป่า

หูกวาง

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

+

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

++

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

+

-

++

-

-

-

-

-

-

-

+++

-

-

2.6 ผลการหาค่า MIC ของสารสกัดจากสมุนไพร โดยใช้น้ำกลั่นเป็นตัวทำละลาย ปรากฏดังตารางที่ 5

ตารางที่ 5 ค่า MIC ของสารสกัดจากสมุนไพรโดยใช้น้ำกลั่นเป็นตัวทำละลาย

 

ความเข้มข้นของสารสกัด ( เท่า)

ชนิดของสมุนไพร ชนิดของเชื้อแบคทีเรีย

1

1/2

1/4

1/8

1/16

1/32

1/64

1/128

1/256

0

มังคุด Escherichia coli

-

-

-

+

+

+

+

+

+

+

กำหนดให้ + = มีการเจริญของเชื้อแบคทีเรียเกิดขึ้น

   - = ไม่มีการเจริญของเชื้อแบคทีเรียเกิดขึ้น

ค่า MIC ของสารสกัดที่ได้จาก มังคุด ซึ่งสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียชนิด Escherichia coli มีค่าเท่ากับ 1/4

2.7 ผลการหาค่า MIC ของสารสกัดจากสมุนไพร โดยใช้ไดเอธิล อีเธอร์ เป็นตัวทำละลาย ปรากฏผลใน ตารางที่ 6

ตารางที่ 6 ค่า MIC ของสารสกัดจากสมุนไพร โดยใช้ไดเอธิล อีเธอร์ เป็นตัวทำละลาย

 

ความเข้มข้นของสารสกัด ( เท่า)

ชนิดของสมุนไพร ชนิดของเชื้อแบคทีเรีย

1

1/2

1/4

1/8

1/16

1/32

1/64

1/128

1/256

0

โกฏจุฬาลำพา Shigella dysenteriae

-

-

+

+

+

+

+

+

+

+

กำหนดให้ + = มีการเจริญของเชื้อแบคทีเรียเกิดขึ้น

   - = ไม่มีการเจริญของเชื้อแบคทีเรียเกิดขึ้น

ค่า MIC ของสารสกัดที่ได้จาก โกฏจุฬาลำพา ซึ่งสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียชนิด Shigella dysenteriae มีค่าเท่ากับ 1/2

หน้า 1 - 2 - 3 - 4 - 5 - 6 - 7 - 8 - 9

 

 

2.8 ผลการหาค่า MIC ของสารสกัดจากสมุนไพร โดยใช้ไอโซโพรพานอล 80% เป็นตัวทำละลาย ผลปรากฏตามตารางที่ 7

ตารางที่ 7 ค่า MIC ของสารสกัดจากสมุนไพร โดยใช้ไอโซโพรพานอล 80% เป็นตัวทำละลาย

 

ความเข้มข้นของสารสกัด ( เท่า)

ชนิดของสมุนไพร ชนิดของเชื้อแบคทีเรีย

1

½

1/4

1/8

1/16

1/32

1/64

1/128

1/256

0

1. สมอพิเภก Salmonella typhosa

2. คูน Salmonella typhosa

3. เปล้าน้อย Salmonella typhosa

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

+

-

+

+

-

+

+

+

+

+

+

+

+

+

+

+

+

+

+

+

กำหนดให้ + = มีการเจริญของเชื้อแบคทีเรียเกิดขึ้น

   - = ไม่มีการเจริญของเชื้อแบคทีเรียเกิดขึ้น

ค่า MIC ของสารสกัดที่ได้จากสมอพิเภก คูน และเปล้าน้อย ซึ่งสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียชนิด Salmonella typhosa มีค่าเท่ากับ 1/8, 1/4 และ 1/16 ตามลำดับ

ตารางที่ 8 แสดง Inoculum size cell ต่อ มล. ของเชื้อแบคทีเรียต่างชนิดที่นำมาใช้ทดลองหาค่า MIC

ชนิดของสมุนไพร
ชนิดของเชื้อแบคทีเรีย
ค่า MIC
Inoculum size cell ต่อ มล.

มังคุด

Escherichia coli

1/4

7.5x10 6

โกฏจุฬาลำพา

Shigella dysenteriae

1/2

8.5x10 6

สมอพิเภก

Salmonella typhosa

1/8

6.5x10 6

คูน

Salmonella typhosa

1/4

7.0x10 6

เปล้าน้อย

Salmonella typhosa

1/16

6.0x10 6

จากการสำรวจเบื้องต้นที่บริเวณริมแม่น้ำเหือง อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลยพบว่าเป็นพื้นที่ป่าแห่งหนึ่งของประเทศไทยที่ยังคงความ อุดมสมบูรณ์สูง มีความสลับซับซ้อนของป่าอย่างชัดเจน ซึ่งส่งผลดีต่อเสถียรภาพและผลผลิตสุทธิของระบบนิเวศที่ป่าแห่งนี้

ในการสำรวจพื้นที่ครอบคลุมประมาณ 24 ตารางกิโลเมตร ที่ระดับความสูงตั้งแต่ 400- 1,200 เมตร สภาพพื้นที่ป่าส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นป่าดิบชื้น ป่าดิบเขา และป่าเต็งรัง จากการรวบรวมตัวอย่างพรรณไม้ประมาณ 300 ตัวอย่าง พบว่ามีลักษณะเป็นพืชสมุนไพร 70 ชนิด พืชที่ใช้เป็นอาหาร 42 ชนิด พืชที่สามารถนำเปลือกมาใช้เป็นประโยชน์ 35 ชนิด ไม้ประดับ 63 ชนิด และพืชหายาก 11 ชนิด

พืชสมุนไพรจำนวน 70 ชนิด เมื่อเปรียบเทียบลักษณะทางสัณฐานวิทยา และสรรพคุณทางยา พบว่ามีจำนวน 15 ชนิด ที่มีสรรพคุณใกล้เคียงกับการใช้เป็นประโยชน์ในการรักษาโรคระบบทางเดินอาหาร ซึ่งจากการตั้งสมมติฐานในเบื้องต้น เชื่อว่า สมุนไพรจำนวน 15 ชนิด จากการสำรวจและเก็บรวบรวมน่าจะมีบางชนิดที่สามารถออกฤทธิ์ยับยั้งต่อการเจริญของเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหาร แต่จากผลวิจัยพบว่า มีสมุนไพรไม่ถึง 10 ชนิด ที่แสดงผลชัดเจนในการออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อกลุ่มที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งอาจมีสาเหตุ ดังนี้

1. ตัวทำละลาย

หมายความว่า ตัวทำละลายที่ใช้สามารถทำละลายและสกัดสารออกจากสมุนไพรได้ แต่สารที่สกัดได้ไม่สามารถละลายสารที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียที่ใช้เป็นตัวอย่างในงานวิจัย หรืออาจละลายสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ยับยั้งได้ แต่ก็สกัดได้ในปริมาณน้อยเกินไป ไม่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อได้

ดังนั้นการเลือกตัวทำละลายจึงถือเป็นปัจจัยเบื้องแรกที่มีผลต่อการสกัดสารออกจากสมุนไพรว่าจะได้สารที่มีผลออกฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียให้ปรากฏชัดเจนหรือไม่ ซึ่งในกรณีนี้ยังหมายความรวมถึงว่า อาจมีการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียเกิดขึ้นแล้วภายใต้แผ่นกระดาษที่ชุบสารสกัด แต่ปฏิกิริยาเกิดน้อยและเจือจางจนไม่ปรากฏวงใสรอบแผ่นกระดาษ เมื่อพิสูจน์ด้วยตาเปล่า จึงไม่อาจยืนยันได้ว่ามีการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียเกิดขึ้นหรือไม่

2. ความเข้มข้นของสารสกัดที่ใช้ทดสอบต่ำเกินไป

จากกรณีนี้ทำให้ไม่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียให้ปรากฏได้

3. เทคนิคและขั้นตอนการสกัด

การสกัดสารจากสมุนไพรที่ใช้เวลานานเกินไปในภาคปฏิบัติจริง อาจเป็นสาเหตุให้ได้สารอาหารของเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อนออกมาพร้อมกับสารออกฤทธิ์ยับยั้ง นี่อาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สารสกัดสมุนไพรหลายชนิด ไม่ออกฤทธิ์ยับยั้งต่อการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย (6)

หน้า 1 - 2 - 3 - 4 - 5 - 6 - 7 - 8 - 9

 

4. สภาพการวิจัยทดลอง

จากการทบทวนเอกสารพบว่าสมุนไพรที่มีรายงานว่าสามารถใช้รักษาโรคระบบทางเดินอาหารนั้น เป็นการรายงานผลเมื่อใช้รักษาโดยตรงกับร่างกายของมนุษย์ ซึ่งร่างกายมนุษย์ต้องมีขบวนการทางชีวเคมีและขบวนการเมตะบอลิซึมมาเกี่ยวข้องและเป็นปัจจัยที่สำคัญ แต่ในการวิจัยทดลองนี้เป็นการทดลองในหลอดทดลองและบนจานอาหาร ซึ่งมีสภาพแตกต่างจากร่างกายของสิ่งมีชีวิตอย่างสิ้นเชิง

5. วิธีการสกัดสารจากสมุนไพร

ในปัจจุบันมีวิธีการสกัดสารจากสมุนไพรหลายวิธีและในการเลือกใช้วิธีใดนั้นต้องพิจารณาจากปัจจัยอื่น (6) อาทิ ลักษณะโครงสร้างของสมุนไพร ความมีเสถียรภาพของสารสกัด ถ้าวิธีการสกัดสารจากสมุนไพรที่ใช้ในงานวิจัยไม่เหมาะสม โอกาสจะสกัดได้สารที่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียก็จะลดน้อยลงโดยปริยาย

แต่อย่างไรก็ดี งานวิจัยนี้แสดงผลให้ปรากฏชัดเจนว่า สารสกัดจากเปลือกผลมังคุด ( น้ำกลั่น) ยับยั้งการเจริญของเชื้อ Escherichia coli ได้ค่า MIC เท่ากับ 1/4 สารสกัดจากใบโกฏจุฬาลำพา ( ไดเอธิล อีเธอร์) สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ Shigella dysenteriae ได้ค่า MIC เท่ากับ 1/2 นอกจากนี้ยังพบว่า สมุนไพรที่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ Salmonella typhosa ได้ ได้แก่เปลือกผลของสมอพิเภก, กลีบดอกคูน และใบเปล้าน้อย โดยทั้งหมดนี้สามารถใช้ ไอโซโพรพานอล 80% เป็นตัวทำละลาย และเมื่อเปรียบเทียบค่า MIC พบว่า ค่า MIC ของสารสกัดจากใบเปล้าน้อยมีค่าน้อยที่สุด คือเท่ากับ 1/16 แสดงว่าสารสกัดจากใบเปล้าน้อย ด้วยไอโซโพรพานอล 80% สามารถออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อ S. typhosa ได้ดีและมีประ- สิทธิภาพเหนือสารสกัดจากเปลือกผลสมอพิเภกและกลีบดอกคูน ตามลำดับ

จากผลการวิจัยนี้ แสดงว่า ในสมุนไพรดังกล่าวน่าจะมีสารบางอย่างที่สามารถส่งผลออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียที่ตัวทำละลายสามารถละลายสารนั้นออกมาได้

สมุนไพรต่างชนิดกันมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียได้ไม่เท่ากัน นั่นอาจเป็นเพราะวิธีการสกัดสารจากสมุนไพรแตกต่างกัน ซึ่งจะส่งผลต่อความบริสุทธิ์และปริมาณที่สกัดได้ หรือเนื่องจากความแตกต่างของชนิดตัวทำละลายที่ใช้ส่งผลให้ได้ สารสกัดในปริมาณที่แตกต่างกัน เหตุผลอื่นที่อาจเป็นไปได้คือ ส่วนของสมุนไพรที่ใช้ในงานวิจัยแตกต่างกัน อาจมีผลต่อความสามารถในการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย ในงานวิจัยนี้ได้ทดลองใช้สารสกัดจากใบเปล้าน้อยกับเปลือกต้นเปล้าน้อย พบว่า สารสกัดจากใบสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ S. typhosa ได้ ขณะที่เปลือกลำต้น ไม่มีประสิทธิผลต่อการยับยั้งการเจริญของเชื้อแต่อย่างใด

 

สรุปผลการวิจัย

จากการสำรวจพรรณไม้บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเหือง อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย ซึ่งเป็นเขตรอยต่อระหว่างประเทศไทยและลาว ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 24 ตารางกิโลเมตร ที่ระดับความสูงตั้งแต่ 4 00- 1,200 เมตร และได้รวบรวมตัวอย่างพืชสมุนไพรจำนวน 15 ชนิด ที่คาดว่าน่าจะมีผลต่อการยับยั้งการเจริญของเชื้อก่อโรคในระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ โกฏจุฬาลำพา ขี้อ้าย คูน ชุมเห็ดเทศ เปล้าน้อย เปล้าใหญ่ แฝกหอม ฟ้าทะลายโจร พิลังกาสา มังคุด โมกหลวง ราชดัด สมอพิเภก สลัดไดป่า และหูกวาง พบว่าสารสกัดจากเปลือกผลมังคุดด้วยน้ำกลั่นสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ Escherichia coli ได้

สารสกัดจากใบโกฏจุฬาลำพา ด้วยไดเอธิล อีเธอร์ สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ Shigella dysenteriae ได้ ขณะที่เชื้อ Salmonella typhosa ถูกยับยั้งการเจริญด้วยสารสกัดจากเปลือกผลสมอพิเภก, กลีบดอกคูน หรือใบเปล้าน้อย โดยใช้ไอโซโพรพานอล 80% เป็นตัวทำละลาย

จากการวิจัยนี้ไม่พบว่ามีสารสกัดจากสมุนไพรชนิดใดสามารถออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อ Vibrio cholerae ได้ นอกจากนั้นแล้วยังพบว่าสารสกัดจากสมุนไพรอื่น ไม่ว่าจะใช้ตัวทำละลายอื่นใด ไม่มีผลปรากฏในการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียทั้ง 4 ชนิดที่ใช้ในการทดสอบ

 

ผลการวิจัยนี้สามารถบอกถึงข้อเสนอแนะในการวิจัยขั้นต่อไป คือ

  1. การถ่ายเชื้อและการเลี้ยงเชื้อที่ใช ควรอย่างยิ่งที่ต้องใช้อาหารชนิดเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อเลี่ยงระยะพักตัว ( Resting Stage) ของเชื้อแบคทีเรีย และป้องกันมิให้เกิดความแตกต่างกันในเรื่องอัตราการเจริญของเชื้อ (Growth Rate)
  2. การเก็บแห้งพืชสมุนไพร ต้องคำนึงถึงความคงทนของสารสำคัญในพืชสมุนไพร โดยต้องหาทางเก็บแห้งได้นาน ถูกวิธี และปราศจากเชื้อ เพื่อมิให้สารสำคัญในพืชสมุนไพรสลายตัวก่อนนำมาวิจัย ซึ่งเทคนิควิธีในการเก็บแห้งพืชสมุนไพรแต่ละชนิดนั้นจะแตกต่างกันออกไป โดยเริ่มตั้งแต่วิธีการเก็บพืชสมุนไพร ซึ่งผู้วิจัยจำเป็นต้องเข้าใจถึงรูปพรรณสัณฐานของสมุนไพร (Morphology) และการจัดจำแนกพืชสมุนไพร (Botanical Identification) ทั้งนี้ยังรวมถึงความรู้ในกระบวนการชีวเคมีและสรีรวิทยา (Biochemical and Physiological Process) ของพืชสมุนไพรที่ทำการวิจัยแต่ละชนิดอีกด้วย ประเด็นนี้มีความสำคัญเกี่ยวกับ active components ในสมุนไพร เพื่อให้สารสำคัญดังกล่าวสลายตัวช้าและน้อยที่สุด
  3. สารสกัดจากสมุนไพร ควรทำให้มีความบริสุทธิ์สูงสุด มีการปนเปื้อนน้อยที่สุด หรือไม่มีการปนเปื้อน
    เพราะการทำให้บริสุทธิ์สามารถบอกได้ชัดเจนว่าสารตัวใดมีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโดยตรง ถ้าใช้ในลักษณะ Crude extract หรือสารสกัด อย่างหยาบ คือมีองค์ประกอบอื่นปะปนมาก ค่า MIC จะมีค่าสูง (7)
  4. การเพิ่มปริมาณของสารสกัด สารสกัดที่ได้จากสมุนไพรแต่ละครั้งมีปริมาณน้อย ถ้าสามารถหาวิธีเพิ่มประสิทธิภาพในการสกัดได้จะทำให้เวลาที่ใช้ในการวิจัยลดลง
  5. การหาตัวทำละลายที่เหมาะสม คือ สามารถทำละลายได้ดีและต้องมีจุดเดือดต่ำ เพื่อลดความยุ่งยากในขั้นตอนระเหยเอาตัวทำละลายออกจากสารสกัดและจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องกระทำพร้อมกับการลดความดันลง ทั้งนี้เพื่อชะลอการสลายตัวของสารสกัด
  6. องค์ประกอบของสมุนไพร ในการทดลองนี้ได้ใช้สมุนไพรแห้งทำการทดลอง (8) เพราะใช้สถานที่ทำการทดลองหลายแห่ง และในสภาพความเป็นจริง ไม่เอื้อให้ผู้วิจัยทำการสกัดสารจากสมุนไพรสดได้ อีกทั้งเวลาที่ใช้ในการสกัดสมุนไพรแต่ละชนิดไม่ได้ทำในคราวเดียวกัน ดังนั้นองค์ประกอบสำคัญบางอย่างที่มีอยู่ในสมุนไพรสดอาจสลายตัวไปหมด เมื่อถูกแปรรูปให้อยู่ในรูปสมุนไพรแห้ง ดังนั้นแนวทางในการวิจัยต่อไปอาจทดลองกับสมุนไพรชนิดเดียวกัน แต่อยู่ในสภาพสด ซึ่งอาจทำให้สารสกัดที่ได้แสดงผลการยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียกลุ่มก่อโรคในระบบทางเดินอาหารแตกต่างจากงานวิจัยครั้งนี้
หน้า 1 - 2 - 3 - 4 - 5 - 6 - 7 - 8 - 9

 

เอกสารอ้างอิง

  1. โครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งตนเอง . 2527. สมุนไพรชาวบ้าน : รวมความรู้จากข่าวสารสมุนไพร ตั้งแต่ปี 2523-2525. สำนักพิมพ์มูลนิธิ โกมลคีมทอง กรุงเทพฯ.
  2. Biodiversity in Thailand : Research Priorities for Sustainable Development. 1991. Science Society of Thailand (Biology Section) and Scientific Research Society of Thailand.
  3. Thailand Country Study on Biodiversity. 1992. Ministry of Science, Technology and Environment and UNEP
  4. บัญญัติ สุขศรีงาม. 2527. เครื่องเทศที่ใช้เป็นสมุนไพร เล่ม 2. อมรการพิมพ์. กรุงเทพฯ.
  5. วีระชัย ณ นคร และคณะ . 2540. การสำรวจพรรณไม้บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเหือง อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย. วารสารวิชาการ. ฝ่ายวิชาการ สำนักวิชาการและวิจัย สวนพฤกษศาสตร์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ สำนักนายกรัฐมนตรี. กรุงเทพฯ.
  6. Anthony, U., Moses, L.G. and Chandra, T.S.1998. Inhibition of Salmonella typhimurium and Escherichia coli by fermented flour of finger millet (Eleusine coracana). World J. of Microbiol. & Biotech. 14:883-886.
  7. Finegold, S.M. and Martin, W.J. 1996. Baily and Scott’s Diagnostic Microbiology. 8 th ed. Mosby. St. Louis.
  8. ดวงรัตน์ เชี่ยวชาญวิทย์ และคณะ . 2539. การพัฒนาการผลิตยาสมุนไพรในระดับอุตสาหกรรมในระบบสาธารณสุขมูลฐานในชนบท. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์. กรุงเทพฯ.

กิตติกรรมประกาศ

ผู้วิจัยขอขอบคุณโครงการส่งเสริมการวิจัยเพื่อพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนและทบวงมหาวิทยาลัย ซึ่งได้อนุมัติงบประมาณสำหรับใช้ในการทำงานวิจัยชิ้นนี้นับแต่เริ่มต้นโครงการจนกระทั่งสำเร็จเสร็จสิ้นเป็นรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์

ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับผู้ช่วยศาสตราจารย์พันธ์สิน เกตุทัตที่เป็นผู้จุดประกายโครงการวิจัยนี้แก่ผู้วิจัยด้วยการชักชวนให้ไปสำรวจดูความหลากหลายทางชีวภาพที่ริมแม่น้ำเหือง อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย ร่วมกับคณะนักวิจัยของภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตประสานมิตรเป็นครั้งแรก หลังจากนั้น โครงการนี้จึงเริ่มเกิดขึ้นเป็นรูปเป็นร่างในที่สุด

ขอขอบคุณพี่ๆในโรงงานยาและบริษัทผลิตยาในส่วนค้นคว้าและทดลองผลิตภัณฑ์ยาที่อำนวยโอกาสให้ผู้วิจัยได้ใช้เครื่องมือบางส่วนและหลายส่วนสำหรับดำเนินการวิจัยนี้ให้ครบถ้วนและสำเร็จเสร็จสิ้น รวมทั้งผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านที่มิได้เอ่ยนามในที่นี้

 

หมายเหตุ งานวิจัยนี้ตรงกับ หมายเลข ISBN 974-219-116-6

หน้า 1 - 2 - 3 - 4 - 5 - 6 - 7 - 8 - 9